เมนู

2. ทิฏฐิสัมปันนบุคคล บุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย
ทิฏฐิเป็นไฉน ?

ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความรอบรู้ ความ
รู้ชัด ฯลฯ ความสอดส่องธรรม คือ อโมหะ สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้
แล้วมีผล การบูชาใหญ่ (คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง) มีผล สักการะที่
บุคคลทำเพื่อแขกมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้อุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียง
กัน ประพฤติดีปฏิบัติชอบที่ รู้ยิ่งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ทำให้แจ้งมี นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐิสัมปทา บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสัมปทานี้ ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.
[77] 1. ทุลลภบุคคล บุคคลผู้หาได้ยากในโลก 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

บุพพการีบุคคล 1. กตัญญูกตเวทีบุคคล 1.
บุคคล 2 จำพวกนี้หาได้ยากในโลก.

อรรถกถาบุคคลผู้หาได้ยาก 2 จำพวก


บทว่า "ทุลฺลภา" ได้แก่ มิใช่บุคคลที่หาได้โดยง่าย.
บทว่า "ปุพฺพการี" ได้แก่ ผู้กระทำอุปการะก่อนนั่นเทียว.
บทว่า "กตเวที" ได้แก่ ประกาศอุปการคุณที่บุคคลอื่นกระทำแล้ว
คือกระทำอุปการคุณให้ปรากฏ.
บัณฑิต พึงแสดงบุคคลทั้ง 2 พวกนั้น ด้วยอาคาริยบุคคล และ
อนาคาริยบุคคล คือ คฤหัสถ์ และ บรรพชิต ก็บรรดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย มารดา
และบิดาชื่อว่าบุพพการี (ผู้กระทำอุปการะก่อน) ส่วนบุตรและธิดาผู้ปฏิบัติ

มารดาบิดา และกระทำการอภิวาทเป็นต้นแก่บิดามารดาชื่อว่า กตเวที (ผู้รู้
อุปการคุณอันบุพพการีชนกระทำแล้ว) สำหรับบรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์
และอุปัชฌาย์ชื่อว่า บุพพการี. อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกทั้งหลาย (ลูกศิษย์
และผู้อยู่ร่วม) ที่ปฏิบัติอาจารย์และอุปัชฌาย์ชื่อว่า กตเวที เพื่อประกาศบุคคล
ทั้ง 2 พวกนั้นให้แจ่มแจ้ง บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่องของพระโสณเถระ ผู้
เลี้ยงดูอุปัชฌาย์ เป็นต้น.
อีกนัยหนึ่ง บุคคลใด เมื่อผู้อื่นยังมิได้กระทำอุปการะเลย ไม่เพ่งเล็ง
ถึงอุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตน แล้วกระทำการอุปการะ ผู้นั้นก็ชื่อว่าบุพพการี
เปรียบเหมือนบิดามารดาพวกหนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์พวกหนึ่ง บุพพการี
บุคคลนั้น ชื่อว่าหาได้โดยยาก เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหาครอบงำไว้.
บุคคลใด รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำในตน ประกาศอยู่ซึ่งอุปการะที่เป็น
ไปตามสมควรแก่อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า กตัญญูกตเวที
เปรียบเหมือน บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในมารดา และบิดา หรือในอาจารย์ และ
อุปัชฌาย์ทั้งหลาย. กตัญญูกตเวทีบุคคลนั้น ชื่อว่า หาได้โดยยาก เพราะ
ความที่สัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาครอบงำไว้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เมตตารักใคร่ โดยไม่มีเหตุ ชื่อว่า บุพพการี.
บุคคลเมตตารักใคร่ โดยมีเหตุ ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดยไม่เพ่งเล็งถึงเหตุเป็นต้นอย่างนี้ว่า "ผู้นี้
จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่า บุพพการี. บุคคลผู้กระทำประโยชน์ โดย
เพ่งเล็งถึงสาเหตุเป็นต้น อย่างนี้ว่า "ผู้นี้จักกระทำอุปการะแก่เรา" ชื่อว่า
กตัญญูกตเวที.
ผู้มืดมาสว่างไปข้างหน้า ชื่อว่า บุพพการี. ผู้สว่างมาสว่างไปข้างหน้า
ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.

ผู้แสดงธรรม ชื่อว่าบุพพการี. ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า บุพพการีในโลกนี้ พร้อมทั้ง
เทวโลก. พระอริยสาวก ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาแห่งทุกนิบาต ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้
ว่า (ผู้กระทำอุปการะก่อน ชื่อว่า บุพพการี. ผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
กระทำตอบในภายหลัง ชื่อว่า กตเวที). บรรดาบุคคลทั้ง 2 พวกนั้น บุพพการี
ชน ย่อมกระทำความสำคัญว่า "เราให้หนี้" บุคคลผู้กระทำตอบแทนในภาย
หลัง ย่อมทำความสำคัญว่า "เราใช้หนี้".
[78] 2.

ทุตตัปปยบุคคล

บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

บุคคลผู้ที่เก็บของที่ตนได้แล้ว ๆ 1. ผู้ที่สละของที่ตนได้แล้ว ๆ
1. บุคคล 2 จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก.

อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก 2 จำพวก


บทว่า "ทุตฺตปฺปยา" ได้แก่ ผู้ให้ตนอิ่ม คือ ผู้ที่ใคร ๆ ไม่อาจให้
อิ่มได้. ก็ภิกษุใด อาศัยตระกูลอุปัฏฐาก หรือ ตระกูลของญาติอยู่ เมื่อจีวร
ที่ให้เก่าแล้ว ก็เก็บจีวรที่ตระกูลเหล่านั้นถวายเสียไม่ใช้สอย ถือเอาจีวรที่
ตระกูลเหล่านั้นถวายแล้วบ่อย ๆ แล้วก็เก็บเสียนั่นแหละ. อนึ่ง ภิกษุใดสละ
จีวรที่ตนได้แล้ว ๆ โดยนัยนั้นนั่นแหละถวายแก่ภิกษุอื่น แม้ได้จีวรบ่อย ๆ ก็
กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
บุคคล 2 พวกนี้ใคร ๆ น้อมนำปัจจัยเข้าไปถวายตั้งเล่มเกวียนก็ไม่
อาจเพื่อให้อิ่มได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุตตัปปยา แปลว่า อันใคร ๆ ให้อิ่ม
ได้โดยยาก.